มานูเอล นอยเออร์ นายทวารกัปตันทีม บาเยิร์น มิวนิค ขึ้นแท่นเป็นผู้รักษาประตูดีสุดตลอดกาลของทีมเสือใต้ตามมุมมองของอดีตซีอีโอ คาร์ล-ไฮนซ์ รุมเมนิกเก้

‘เรามีผู้รักษาประตูที่ดีในเยอรมันเสมอที่ บาเยิร์น มิวนิค เมื่อคุณพูดถึง เซ็ปป์ ไมเออร์ หรือ โอลิเวอร์ คาห์น แต่ผมคิดว่า มานูเอล นอยเออร์ ยกระดับของผู้รักษาประตูไปอีกขั้น’

‘เขาเป็นผู้รักษาประตูดีที่สุดในโลก ผมคิดว่าเขาเป็นผู้รักษาประตูเก่งที่สุดตลอดกาลด้วยซ้ำ’

นั่นคือคำกล่าวยกย่องนายทวารวัย 35 ปีของ คาร์ล-ไฮนซ์ รุมเมนิกเก้ อดีตซีอีโอ บาเยิร์น มิวนิค แต่คำพูดของเขาถูกหรือไม่? มีใครเห็นด้วยกับเขามากน้อยเพียงใด?

บาเยิร์น มิวนิค เป็นสโมสรที่มีผู้รักษาประตูดีที่สุดของเมืองเบียร์เสมอมา ไล่ตั้งแต่ยุค เซ็ปป์ ไมเออร์, ฌอง-มารี พัฟฟ์, ไรม่อนด์ เอามันน์, โอลิเวอร์ คาห์น มาจนถึงยุคปัจจุบัน มานูเอล นอยเออร์ ใครดีกว่ากัน

เซ็ปป์ ไมเออร์ (1962-1980)

เซ็ปป์ ไมเออร์ เป็นผู้รักษาประตูคนแรกจากทั้งหมด 24 คนของ บาเยิร์น มิวนิค นับตั้งแต่เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นบุนเดสลีกาเมื่อปี 1965 จนถึงปัจจุบัน

ไมเออร์ ลงเล่นกับ บาเยิร์น มิวนิค 473 เกม ซึ่งรวมถึงการทำสถิติลงเฝ้าเสา 422 เกมติดต่อกัน ความโดดเด่นในการเป็นปราการด่านสุดท้ายของเขาเกิดขึ้นในยุคที่เป็นตัวกำหนดชะตาของสโมสร โดยเฉพาะในช่วงปี 1969 จนถึงปี 1976 ที่ทีมดังแคว้นบาวาเรียคว้าแชมป์บุนเดสลีกา 4 สมัย, เดเอฟเบ 4 สมัย และ ยูโรเปี้ยน คัพ 3 สมัย

เซ็ปป์ ไมเออร์ ถูกตั้งฉายาว่า ‘The Cat from Anzing’ หรือ ‘แมวจากอันซิ่ง’ เนื่องจากปฏิกิริยาตอบสนองของเขาเหมือนแมวและมาจากเมืองเล็กๆในแคว้นบาวาเรียที่เขาเติบโตขึ้นมาในวัยเด็ก

นอกเหนือจากการตอบสนองคล้ายแมวแล้ว ความคาดหวังของเขา เขามักจะออกคำสั่งเพื่อกำจัดอันตรายตั้งแต่ต้นทางทำให้เขากลายเป็นผู้บุกเบิกสำหรับผู้รักษาประตูยุคใหม่ เขายังเป็นต้นแบบในหลายๆด้านของ นอยเออร์ ด้วย

ไมเออร์ ลงเฝ้าเสากับ บาเยิร์น มิวนิค ในช่วงปี 1962-1980 ลงเล่นบุนเดสลีกา 473 เกม เสีย 653 ประตูและเก็บคลีนชีต 137 เกม

ฌอง-มารี พัฟฟ์ (1982-1988)

การประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ร้ายแรงในปี 1979 ทำให้ ไมเออร์ ต้องยุติอาชีพค้าแข้งในปีถัดมาด้วยวัย 35 ปี ซึ่ง บาเยิร์น มิวนิค สลับใช้งาน มานเฟร็ด มุลเลอร์ และ วอลเตอร์ ยังฮันส์ ในช่วง 3 ฤดูกาลหลังจากนั้น

การเปลี่ยนผ่านผู้รักษาประตูรุ่นต่อไปไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับ บาเยิร์น มิวนิค หลังสิ้นสุดยุคของ ไมเออร์ แต่การมาเยือน ฌอง-มารี พัฟฟ์ จาก เบเวเรน สโมสรของเบลเยียมในปี 1982 ช่วยยุติปัญหาดังกล่าวโดยปริยาย

แม้ พัฟฟ์ จะลงประเดิมเฝ้าเสาด้วยการทำเข้าประตูตัวเองก่อนทีมเสือใต้จะพ่ายคู่แข่ง 0-1 แต่หลังจากนั้นเขาพิสูจน์ให้เห็นว่าความผิดพลาดในการลงเล่นเกมแรกเป็นเพียงอุบัติเหตุ นายทวารชาวเบลเจี้ยนเดินหน้าคว้าแชมป์บุนเดสลีกา 3 สมัย และนำทีมดังแคว้นบาวาเรียผ่านเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศของศึก ยูโรเปี้ยน คัพ เมื่อปี 1987

บาเยิร์น มิวนิค คว้าชัยชนะ 57 เปอร์เซ็นต์ จาก 156 เกมที่ พัฟฟ์ ลงเฝ้าเสาบนเวทีบุนเดสลีกาในช่วงปี 1982-1988 เขาเสีย 166 ประตูและเก็บคลีนชีต 57 เกม ผลงานของนายทวารชาวเบลเจี้ยนเหนือกว่า ไมเออร์ ที่คว้าชัยร่วมกับทีมเสือใต้เพียง 52 เปอร์เซ็นต์ที่เขาลงเฝ้าเสา

ไมเออร์ เสียเฉลี่ย 46 ประตูต่อฤดูกาล แต่ พัฟฟ์ มีค่าเฉลี่ยเสียเพียง 27.6 ประตูต่อซีซั่นเท่านั้น โดยนายทวารชาวเบลเจี้ยนจะถูกยิงประตูทุกๆ 84 นาที ส่วน ไมเออร์ จะเสียประตูทุกๆ 65 นาที

เส้นทางในทีมชาติของ พัฟฟ์ ยังคล้ายกับ ไมเออร์ ซึ่งคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกกับ เยอรมันตะวันตก เมื่อปี 1974 หลัง พัฟฟ์ นำ เบลเยียม ฝ่าด่าน สเปน ทะลุเข้าถึงรอบรองชนะเลิศของศึกฟุตบอลโลกปี 1986  ทว่าทีมปีศาจแดงยุโรปพ่ายต่อ อาร์เจนตินา ของ ดีเอโก้ มาราโดน่า 0-2 ก่อนจบทัวร์นาเมนต์ฐานะอันดับ 4 หลังการปราชัยต่อ ฝรั่งเศส ในช่วงต่อเวลาพิเศษ 2-4

ไรม่อนด์ เอามันน์ (1982-1994)

เอามันน์ เริ่มต้นในบทบาทสำรองของ ฌอง-มารี พัฟฟ์ ซึ่งคว้าแชมป์บุนเดสลีกา 3 สมัยจากทั้ง 6 ครั้งของเขา จนกระทั่งก้าวขึ้นมาเป็นนายทวารมือ 1 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 1985 หลังนายทวารชาวเบลเจี้ยนบาดเจ็บ เมื่อ พัฟฟ์ อำลาทีมเสือใต้ในปี 1988 เอามันน์ ก้าวขึ้นมายึดตำแหน่งผู้รักษาประตูตัวจริงแบบถาวร

นายทวารที่มีพื้นเพจากเมืองเอาก์สบวร์กลงเฝ้าเสาบนเวทีบุนเดสลีกากับ บาเยิร์น มิวนิค 216 เกม เสีย 229 ประตูและเก็บคลีนชีต 81 เกม โดยมีค่าเฉลี่ยเสียประตูทุกๆ 85 นาที

แต่ เอามันน์ ทำผลงานเหนือกว่าสองผู้รักษาประตูรุ่นพี่คือเขาทำสถิติแพ้น้อยสุดเมื่อลงเฝ้าเสากับทีมเสือใต้เพียง 16.6 เปอร์เซ็นต์ ดีกว่า พัฟฟ์ (17.3 เปอร์เซ็นต์) และ ไมเออร์ (25.5 เปอร์เซ็นต์)

อย่างไรก็ตามฝีมือของ เอามันน์ ยังไม่ดีพอสำหรับการก้าวขึ้นมาเป็นผู้รักษาประตูมือหนึ่งของทีมชาติเยอรมันตะวันตก เขารับบทบาทเป็นเพียงสำรองของ โบโด อิ๊ล์กเนอร์ โดยไม่ได้ลงเล่นในศึกฟุตบอลโลกเมื่อปี 1990

แม้จะไม่มีบทบาทมากนักกับทัพอินทรีเหล็ก แต่ เอามันน์ ยังมีบทบาทสำคัญกับ บาเยิร์น มิวนิค เขาก้าวขึ้นมาเป็นกัปตันทีมเสือใต้ต่อจาก เคล้าส์ เอาเกนทาเลอร์ ในปี 1991 ก่อนจะอำลาสโมสรไปเล่นกับ เบซิคตัส ในปี 1994 และประกาศอำลาสังเวียนในปีต่อมา

โอลิเวอร์ คาห์น (1994-2008)

บาเยิร์น มิวนิค จ่ายเงิน 2.5 ล้านยูโรดึง คาห์น มาจาก คาร์ลสรูห์ ในช่วงซัมเมอร์ปี 1994 ก่อน ‘คิง คาห์น’ จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้ยิ่งใหญ่คนต่อไปของทีมดังแคว้นบาวาเรียและทีมชาติเยอรมัน หลังทำผลงานยอดเยี่ยมตลอด 14 ปีในมิวนิค

คาห์น เป็นผู้รักษาประตูที่มีทักษะยอดเยี่ยมในการเซฟลูกยิงที่เหนือชั้นด้วยการตอบสนองแบบสปริงและสไตล์การเล่นที่ดุดันในการเผชิญหน้ากับคู่แข่งแบบตัวต่อตัว แน่นอนว่าเขาคือผู้รักษาประตูดีที่สุดในรุ่นของตัวอย่างไม่ต้องสงสัย

โอลิเวอร์ คาห์น ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ด้วยการคว้าแชมป์บุนเดสลีกา 8 สมัยและแชมเปี้ยนส์ลีกในซีซั่น 2000-2001 เขายังเป็นนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีของเยอรมัน 2 สมัยติดต่อกันในปี 2000 กับ 2001 คาห์น ยังคว้าอันดับ 3 ของ บัลลง ดอร์ อีก 2 ครั้งในปี 2001 กับ 2002

ตลอด 14 ปีในฐานะผู้รักษาประตูของ บาเยิร์น มิวนิค เขาลงเฝ้าเสาบนเวทีบุนเดสลีกา 429 เกม เสีย 407 ประตูและเก็บคลีนชีต 169 เกม ก่อน มานูเอล นอยเออร์ จะถูกดึงมาเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจาก ‘คิง คาห์น’

มานูเอล นอยเออร์ (2011-ปัจจุบัน)

3 ปีหลังการอำลาของ ‘คิง คาห์น’, บาเยิร์น มิวนิค ดึง มานูเอล นอยเออร์ มาจาก ชาลเก้ ในซัมเมอร์ปี 2011 ช่วงเวลานั้นทีมเสือใต้จบอันดับ 3, อันดับ 1 และ อันดับ 2, คว้าแชมป์ เดเอฟเบ โพคาล 1 ครั้ง และผ่านเข้าถึงรอบ 8 ทีมของรายการแชมเปี้ยนส์ลีก เพียงครั้งเดียว ก่อนพ่าย อินเตอร์ มิลาน ด้วยสกอร์รวม 0-2 ในซีซั่น 2009-2010

นับตั้งแต่ นอยเออร์ สถาปนาตัวเองขึ้นมาเป็นนายทวารมือ 1 ของทีมเสือใต้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว บาเยิร์น มิวนิค ทำสถิติคว้าแชมป์บุนเดสลีกา 9 สมัยติดต่อกัน, แชมป์เดเอฟเบ โพคาล 5 ครั้ง และ แชมป์แชมเปี้ยนส์ลีก 2 สมัย เขายังเป็นส่วนหนึ่งของแชมป์ ฟีฟ่า คลับ เวิลด์ คัพ ในปี 2013 และ 2020 ที่คว้า ‘ทริเปิ้ลแชมป์’ ในปีดังกล่าวด้วย

นอยเออร์ เป็นผู้รักษาประตูคนแรกที่ลงเฝ้าเสากับทีมชาติเยอรมันครบ 100 เกม แม้เขาจะลงเล่นในซีซั่น 2017-2018 เพียง 3 เกม เนื่องจากกระดูกฝ่าเท้าแตก หลังเคยผ่าตัดแล้วเสริมแผ่นเหล็กที่กระดูกเท้าขวาตั้งแต่ปี 2008 แต่เขาไม่เคยมีปัญหาบาดเจ็บหนักในส่วนอื่นและยังประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่นกับทีมดังแคว้นบาวาเรีย

ในช่วงต้นซีซั่น 2020-2021 นอยเออร์ ทำสถิติแซงหน้า คาห์น ในฐานะผู้รักษาประตูที่เก็บคลีนชีตมากสุดในประวัติศาสตร์บุนเดสลีกา แม้ว่าจะลงเฝ้าเสาน้อยกว่า ‘คิง คาห์น’ มากกว่า 100 เกมก็ตาม

นายทวารวัย 35 ปี ยังคว้าชัยชนะ 300 เกมบนเวทีบุนเดสลีกาจากการลงเฝ้าเสาเพียง 447 เกม ซึ่งรวมถึงตอนที่เขายังเฝ้าเสากับทีมเก่า ชาลเก้ ด้วย มีเพียงแต่ ‘คิง คาห์น’ เท่านั้นที่สะสมชัยชนะมากกว่าเขา หลังอดีตผู้รักษาประตูทีมเสือใต้คว้าชัยชนะรวมกัน 310 เกม

บาเยิร์น มิวนิค ภายใต้การลงเฝ้าเสาของ คาห์น ทำสถิติชนะ 60.6 เปอร์เซ็นต์ แต่ทีมเสือใต้ยุค นอยเออร์ ทำผลงานเหนือกว่าโดยเก็บชัยชนะสูงเกือบ 77 เปอร์เซ็นต์ นายทวารวัย 35 ปียังเสียเฉลี่ยทุก 124 นาที ซึ่งเป็นผลงานดีสุดของสโมสร

นอกจากความสามารถในเซฟประตูแบบน่าเหลือเชื่อแล้ว นอยเออร์ ยังมีความสามารถในการเล่นฟุตบอลด้วยเท้าตามแบบฉบับของผู้รักษาประตูสมัยใหม่ เขาพัฒนาจนมีบทบาทคล้ายลิเบอโร่ที่สามารถโจมตีฝ่ายตรงข้ามเกินขอบเขตพื้นที่ของตนเอง

แม้จะไม่ใช่ตำแหน่ง ‘สวีปเปอร์-คีปเปอร์’ คนแรกของเกมลูกหนัง แต่ นอยเออร์ กลายเป็นจุดอ้างอิงสำหรับบทบาทนี้ อัตราการจ่ายบอลสำเร็จจากจังหวะโอเพ่นเพลย์ในช่วงที่ผ่านมานั้นอยู่ที่ประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์ จนถึงขั้น เป๊ป กวาร์ดิโอล่า อดีตเทรนเนอร์ทีมเสือใต้มีแนวคิดที่จะใช้งาน นอยเออร์ ในตำแหน่งมิดฟิลด์ด้วยซ้ำ

‘ผมแน่ใจว่าเขาจะทำได้ดีในตำแหน่งมิดฟิลด์ แต่ มานูเอล ได้คิดค้นศิลปะของการเป็นนักฟุตบอลในฐานะผู้รักษาประตูและปฏิวัติตำแหน่งดังกล่าว’ เป๊ป พูดถึง นอยเออร์

นับถึงปัจจุบัน นอยเออร์ ลงเฝ้าเสาบนเวทีบุนเดสลีกา 291 เกม เสีย 211 ประตูและเก็บคลีนชีต 145 เกม

รุมเมนิกเก้ ไม่ใช่คนแรกที่กล่าวถึง นอยเออร์ ในฐานะผู้รักษาประตูดีที่สุดตลอดกาลและอดีตซีอีโอทีมเสือใต้คงไม่ใช่คนสุดท้ายที่พูดแบบนี้ด้วย แม้ว่า ไมเออร์, พัฟฟ์, เอามันน์ และ คาห์น จะเป็นนายทวารที่ยอดเยี่ยมก็ตาม แต่ นอยเออร์ คู่ควรกับการเป็นผู้รักษาประตูดีสุดในประวัติศาสตร์ของ บาเยิร์น มิวนิค

คลิกเลย >>> https://www.ufabetwins.com/
อ่านเพิ่มเติม >>> บ้านผลบอล